การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว...

18
Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐานของชุมชนหลัง มหาวิทยาลัยขอนแก่นตามวัจนลีลาและอายุของผู้พูด 1 Age and stylistic variation of final (s), (l) in English loan words in Thai spoken by the community behind Khon Kaen University อนงค์นาฏ นุศาสตร์เลิศ 2 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการออกเสียงพยัญชนะท้าย (s) และ (l) ในค�ายืมภาษา อังกฤษในภาษาไทย ตามตัวแปรทางสังคม 2 ประการได้แก่ วัจนลีลาและอายุ เพื่อตอบ ค�าถามว่าตัวแปรวัจนลีลาและอายุมีผลต่อการออกเสียงพยัญชนะท้าย (s) และ (l) หรือไม่ อย่างไร โดยเก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาซึ่งเป็นคนที่อาศัยอยู ่ในชุมชน บ้านโนนม่วง ชุมชนหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพศหญิง จ�านวน 40 คน แบ่งเป็น กลุ่มอายุ 15-29 ปี, 30-34 ปี, 45-49 ปี, และ 60-80 ปีซึ่งเป็นตัวแทนของ คนรุ่นใหม่ คนรุ่นค่อนข้างใหม่ คนรุ่นค่อนข้างเก่า และคนรุ่นเก่า ตามล�าดับ โดยศึกษาวัจนลีลาการสัมภาษณ์ การอ่านข้อความ และการอ่านรายการค�า ซึ่งแสดงถึง วัจนลีลาที่เป็นทางการน้อยไปหามาก ผู้วิจัยมีสมมติฐานว่า ผู้บอกภาษาทุกกลุ่ม 1 บทความนี้เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง ภาษาไทยกับการใช้ตามสถานการณ์ จัดโดยคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับโครงการวิจัยทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย เรื่อง “ภาษาแห่งอ�านาจ: การวิเคราะห์วัจนลีลาของภาษากฎหมาย ภาษาการเมือง ภาษาสื่อ และภาษาวิชาการของสังคมไทย” วันที่ 24 สิงหาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 2 อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ 2

Transcript of การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว...

Page 1: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

ว่าง

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s)

ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐานของชุมชนหลัง

มหาวิทยาลัยขอนแก่นตามวัจนลีลาและอายุของผู้พูด1

Age and stylistic variation of final (s), (l)

in English loan words in Thai spoken by the

community behind Khon Kaen University

อนงค์นาฏ นุศาสตร์เลิศ2

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการออกเสียงพยัญชนะท้าย (s) และ (l) ในค�ายืมภาษา

องักฤษในภาษาไทย ตามตวัแปรทางสงัคม 2 ประการได้แก่ วจันลลีาและอาย ุเพือ่ตอบ

ค�าถามว่าตัวแปรวัจนลีลาและอายุมีผลต่อการออกเสียงพยัญชนะท้าย (s) และ (l)

หรือไม่ อย่างไร โดยเก็บข้อมูลจากผู ้บอกภาษาซึ่งเป็นคนที่อาศัยอยู ่ในชุมชน

บ้านโนนม่วง ชุมชนหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพศหญิง จ�านวน 40 คน แบ่งเป็น

กลุ่มอายุ 15-29 ปี, 30-34 ปี, 45-49 ปี, และ 60-80 ปีซึ่งเป็นตัวแทนของ

คนรุ ่นใหม่ คนรุ ่นค่อนข้างใหม่ คนรุ ่นค่อนข้างเก่า และคนรุ ่นเก่า ตามล�าดับ

โดยศกึษาวจันลลีาการสมัภาษณ์ การอ่านข้อความ และการอ่านรายการค�า ซึง่แสดงถงึ

วัจนลีลาที่เป็นทางการน้อยไปหามาก ผู้วิจัยมีสมมติฐานว่า ผู้บอกภาษาทุกกลุ่ม

1 บทความนี้เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง ภาษาไทยกับการใช้ตามสถานการณ ์

จัดโดยคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับโครงการวิจัยทุนส่งเสริมกลุ ่มวิจัย

เรื่อง “ภาษาแห่งอ�านาจ: การวิเคราะห์วัจนลีลาของภาษากฎหมาย ภาษาการเมือง ภาษาสื่อ

และภาษาวิชาการของสังคมไทย” วันที่ 24 สิงหาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 2 อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ

2

Page 2: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์16

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

มีการออกเสียงพยัญชนะท้าย (s) และ (l) มากขึ้นในวัจนลีลาที่เป็นทางการมากขึ้น

และมีการออกเสียงพยัญชนะท้าย (s) และ (l) มากขึ้นตามกลุ่มอายุของผู้บอกภาษา

ที่น้อยลง ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าเป็นไปตามสมมติฐานบางส่วน กล่าวคือ

ผูบ้อกภาษาซึง่เป็นกลุม่คนรุน่ใหม่มกีารออกเสยีง [s] มากทีส่ดุในวจันลลีาการสมัภาษณ์

รองลงมาเป็นกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่ กลุ่มคนรุ่นค่อนข้างเก่า และกลุ่มคนรุ่นเก่า

ตามล�าดับ เช่นเดียวกับวัจนลีลาการอ่านข้อความและวัจนลีลาการอ่านเป็นค�า

ส่วนการออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) ซึ่งมีเสียงเป็นหน่วยเสียงข้างลิ้น [l] พบว่า

มีการออกเสียงน้อยมาก กล่าวคือ ในวัจนลีลาการสัมภาษณ์ พบการออกเสียง [l]

ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ส่วนในวัจนลีลาการอ่านข้อความและวัจนลีลาการอ่านเป็นค�าพบ

การออกเสียง [l] ในกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่เท่านั้น งานวิจัยชิ้นนี้

สรุปได้ว่าการออกเสียงพยัญชนะท้าย (s) มีการแปรไปตามวัจนลีลาและอายุ เสียง [s]

เป็นเสียงที่ยืมจากภาษาอังกฤษ ฉะนั้นจึงสามารถท�านายได้ว่า คนในชุมชนนี้จะมีการ

ออกเสียง [s] ในพยัญชนะท้ายในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยกันในวงกว้างและ

มีการใช้ในชีวิตประจ�าวันมากขึ้น ส่วนการออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) เป็นเพียงเสียง

ทีไ่ม่นยิมใช้ไม่ได้เป็นเสยีงทีย่มืมาจากภาษาองักฤษและไม่มอีทิธพิลต่อการออกเสยีง

ในค�ายืมของคนในชุมชนหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

The research aims to analyse English loan word in Thai and 2 social

variations which are stylistic and age in order to answer the question whether and

how those stylistic and age variation affect final consonant pronunciation (s) (l).

The data were collected from female participants who live in Baan Non Muang,

community behind Khon Kaen University divided into age group of 15-29,

30-34 and 60-80. Those group of age are the representative of new generation,

rather new generation, rather old generation and old generation respectively. I study

interview, passage reading and word list stylistic which represent most formal style

Page 3: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

17

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

to least formal style. My hypothesis is that the participant will show the more

pronounce final consonant (s) and (l) in the more formal stylistic Moreover, the

participants will pronounce final consonant (s) (l) follow the lower age group. The

result of analysis show that the finding follow some part of hypothesis namely the

group which pronounce [s] most in interview stylistic are the new generation,

rather new generation, rather old generation and old generation respectively

similar with passage reading and word list style. For the pronunciation of final

consonant (l) which are the sound of lateral [l], the finding show that there are few

pronunciation. That is to say there are the pronunciation of [l] in new generation

group for interview stylistic whereas in passage reading and word list stylistic, there

are the pronunciation of [l] in only new and rather new generation group. This

research can be concluded that the pronunciation of final consonant (s) varies to

stylistic and age. [s] is the sound which is loan from English. So, it can be

predicted that this community will pronounce final consonant [s] loan word in Thai

in wide area and will use this sound more in daily life. For the pronunciation of

(l), it is only the sound which is not famous in use and not borrowed from English

so that this sound does not affect the loan word pronunciation in the community

behind Khon Kaen University.

บทน�า

ปัจจุบันเสียงพยัญชนะท้ายค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐานมีการ

ใช้อย่างกว้างขวางมากขึน้ เนือ่งจากการเปลีย่นแปลงของสงัคมไทยทีม่กีารรบัวฒันธรรม

จากภายนอกเข้ามามากขึ้น การศึกษาเสียงพยัญชนะท้ายค�ายืม ตลอดจนการศึกษา

ปัจจยัทางสงัคมทีม่ผีลต่อการออกเสยีง และการใช้ค�าจงึเป็นทีส่นใจของนกัภาษาศาสตร์

เพราะท�าให้สามารถเห็นการแปรและการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เกิดขึ้นในสังคม

ปัจจุบัน อีกทั้งใช้ท�านายสังคมในอนาคตได้ อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2544) กล่าวว่า

การแปร หมายถึง การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีรูปร่างลักษณะ คุณสมบัติ หรือส่วนประกอบ

Page 4: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์18

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ทีแ่ตกต่างไปจากเดมิ แต่ยงัเป็นสมาชกิของสิง่เดยีวกนั ซึง่ในการวเิคราะห์การแปรของ

ภาษา จ�าเป็นต้องพจิารณา ตวัแปรภาษา (Linguistics variation) และตวัแปรทางสงัคม

(Social variable) งานวจิยัทีผ่่านมามผีูศ้กึษาการแปรของภาษาทีเ่กีย่วข้องกบัตวัแปร

ทางสังคมไว้แตกต่างกัน ลาบอฟ (Labov, 1972) ได้ศึกษาการแปรของเสียง [r]

ตามชั้นทางสังคมของผู้พูดโดยได้ท�าการทดลองในห้างสรรพสินค้าระดับสูงไปจนถึง

ระดับต�่าในเรื่องราคาและแฟชั่น พบว่า พนักงานในห้างสรรพสินค้าระดับสูงจะออกเสียง [r]

มากกว่าพนักงานในห้างสรรพสินค้าระดับต�่าลงมา ทรัดกิลล์ (Trudgill, 1972)

ศึกษาการออกเสียง [In] ในชุมชนเมืองนอริช ประเทศอังกฤษ พบว่า มีการแปรไป

ตามชั้นทางสังคมและเพศ กล่าวคือ เพศชายมีการใช้ [In] ซึ่งเป็นรูป ไม่มาตรฐาน

มากกว่าเพศหญิง และคนชนชั้นที่ต�่ากว่าจะมีการใช้รูปไม่มาตรฐานมากกว่าชนชั้นสูง

งานวจิยัของคนไทย ปาลรีฐั ทรพัย์ปรงุ (2536) ศกึษาการแปรของเสยีง (h) ในภาษา

ถิน่สงขลา โดยศกึษาตามปัจจยัทางสงัคมด้านการศกึษาและอาย ุพบว่า ปัจจยัดงักล่าว

มีผลต่อรูปแปร (h) เช่น กลุ่มการศึกษาสูง อายุน้อยมีทัศนคติลบต่อภาษาถิ่น

จากงานวิจัยดังกล่าว จะเห็นได้ว่า มีการศึกษาการแปรของภาษาในแง่มุม

ที่แตกต่างกัน และแสดงให้เห็นว่า ตัวแปรทางสังคม เช่น ชั้นทางสังคม เพศ การศึกษา

และอายุ มีบทบาทต่อการใช้ภาษา นอกจากนี้ ปัจจัยทางสังคมด้านวัจนลีลาก็มีผลต่อ

การใช้ภาษาอีกด้วย ลาบอฟ (Labov, 1972:99) แบ่งวัจนลีลาเป็น 5 ประเภท

เรียงล�าดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ แบบเป็นกันเอง แบบระมัดระวัง แบบการอ่าน

เรื่อง แบบการอ่านเป็นค�าๆ แบบการอ่านคู่เทียบเสียง นอกจากนี้ เขาได้ท�าการศึกษา

การออกเสียง [r] ของพนักงานในห้างสรรพสินค้าในวัจนลีลาที่แตกต่างกัน โดยถาม

ค�าถามที่น�าไปสู่ค�าตอบที่ว่า ‘Fourth Floor’ ซึ่งมีเสียง [r] อยู่ด้วย โดยตั้งค�าถาม

ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติในครั้งแรกเพื่อไม่ให้ผู้ตอบค�าถามรู้ตัว และถามซ�้าอีกครั้ง

เพื่อให้ผู้บอกภาษารู้ตัว ผลการวิจัย พบว่า ในวัจนลีลาที่ไม่เป็นทางการพนักงาน

จะออกเสยีง [r] น้อยแต่จะมกีารออกเสยีง [r] มากขึน้ในวจันลลีาทีเ่ป็นทางการมากขึน้

งานวจิยันีแ้สดงให้เหน็ว่า คนมกัจะเลอืกใช้รปูทีม่ศีกัดิศ์รเีมือ่มกีารใช้แบบรูต้วัมากขึน้

หรอืในลกัษณะทีเ่ป็นทางการมากขึน้ งานวจิยัของคนไทย แสงจนัทร์ ตรยีกลู (2529)

ได้ศกึษาการแปรของ ร และ ล ในภาษาไทยกรงุเทพฯ โดยศกึษาในวจันลลีาทีแ่ตกต่างกนั

Page 5: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

19

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

สี่แบบของผู้ประกาศข่าวประจ�าสถานีวิทยุกระจายเสียง เอฟ.เอ็ม. เก็บข้อมูลด้วยการ

สมัภาษณ์ อ่านประกาศ อ่านบทความ และอ่านคูเ่ทยีบเสยีง เช่นเดยีวกบั ธดิา พลูทรพัย์

(2537) ที่ศึกษาการแปรตามวัจนลีลาของ (ร) และ (ล) ในพยัญชนะ ควบกล�้า

ในภาษาไทยกรุงเทพฯ ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมปีที่ 4 โรงเรียนศรีอยุธยา ผลการวิจัย

ทั้งสองเรื่องยืนยันสมมติฐานที่ว่าผู้พูดจะใช้รูปที่มีศักดิ์ศรีมากเมื่ออยู่ในสถานการณ์

ที่ต้องใช้ความระมัดระวังมาก

จากการทบทวนวรรณกรรมดงักล่าว ผูว้จิยัจงึสนใจศกึษาการแปรของภาษา

อันเกิดจากการรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาในสังคมโดยดูจากปัจจัยทางด้านอาย ุ

และวัจนลีลา ผู้วิจัยสังเกตว่า ชุมชนหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นชุมชนที่เหมาะแก่

การศึกษาการแปรของภาษาอันเนื่องมากจากการรับวัฒนธรรมภายนอก เนื่องจาก

ชมุชนนีเ้ป็นชมุชนบ้านทีม่อีาณาเขตตดิต่อกบัชมุชนเมอืง อกีทัง้เป็นชมุชนทีม่พีืน้ทีต่ดิกบั

มหาวิทยาลัยและมีการรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาสู ่ชุมชน การศึกษาปัจจัย

ทางด้านอายทุีม่ผีลต่อการใช้ภาษาในชมุชนหลงัมหาวทิยาลยันีจ้งึเหมาะสมทีจ่ะน�าผล

มาท�านายการเปลีย่นแปลงทีก่�าลงัด�าเนนิอยูใ่นสงัคมนีแ้ละสงัคมอืน่ทีค่ล้ายคลงึกนัได้

ในเรือ่งการรบัวฒันธรรมภายนอกนี ้ผูว้จิยัได้ท�างานวจิยัน�าร่อง อนงค์นาฏ นศุาสตร์เลศิ

(2551) ศึกษาการออกเสียงพยัญชนะท้าย (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย

ตามพื้นฐานการศึกษาและอายุในชุมชนวัดหัวล�าโพง พบว่า คนที่มีการศึกษาสูงและ

คนที่มีอายุน้อยจะมีการออกเสียง [s] มากกว่าคนที่มีการศึกษาน้อยและมีอายุมาก

ตามล�าดับ

จากงานวจิยันี ้ท�าให้เหน็ว่า การแปรในการออกเสยีงท้ายค�ายมืภาษาองักฤษ

ในภาษาไทยมาตรฐานตามปัจจัยทางสังคมเป็นวิธีหนึ่งที่ท�าให้เห็นได้ว่า ชุมชนนั้น

มีการรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาสู่ชุมชนได้มากน้อยเพียงไร ส่วนงานวิจัยที่ศึกษา

เกีย่วกบัการยมืนัน้ได้มผีูศ้กึษาไว้บ้าง เช่น องัสนา จามกิรณ์ (2532) ได้ศกึษาการแปร

การออกเสียงพยัญชนะท้ายของค�ายืมภาษาอังกฤษที่ลงท้ายด้วยเสียงเสียดแทรก

ปุ่มเหงือกของข้าราชการกองทัพไทย พบว่า ข้าราชการที่มีประสบการณ์การเรียน

ต่างประเทศ จะมีการออกเสียงเสียดแทรกปุ่มเหงือกมากที่สุด งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า

พืน้ฐานการศกึษามผีลต่อการออกเสยีงพยญัชนะท้ายค�ายมื นอกจากนี ้มงีานวจิยัของ

Page 6: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์20

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ศิริรัตน์ ศิริวิสูตร (2536) ที่ได้ศึกษาการแปรของเสียงพยัญชนะท้าย (l) ในค�ายืม

ภาษาอังกฤษในภาษาไทยตามวัจนลีลาและพื้นฐานการศึกษาของคนไทย ศิริรัตน์

พบว่า คนไทยจะมีการออกเสียง [l] มากขึ้นตามวัจนลีลาที่เป็นทางการมากขึ้นและ

พื้นฐานการศึกษาที่มากขึ้น

จากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าว ผู้วิจัยพบว่า การศึกษาการออกเสียง

พยัญชนะท้ายค�ายืมส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาไปที่ตัวแปรทางสังคมต่างๆ ในกลุ่ม

อาชพี เช่น ข้าราชการกองทพัเรอื พนกังานต้อนรบับนเครือ่งบนิ แต่ไม่เน้นไปทีช่มุชน

ที่มีการรับวัฒนธรรมภายนอกเท่าใดนัก ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการแปรของ

ภาษาเรื่องการออกเสียง [s] [l] ท้ายค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

เพื่อหาความสัมพันธ์กับตัวแปรทางสังคมด้านวัจนลีลาและอายุ และตอบค�าถามว่า

ตัวแปรดังกล่าวมีผลต่อการออกเสียง [s] [l] หรือไม่ อย่างไร อีกทั้งหาค�าตอบว่า

ข้อสรุปดังกล่าวจะน�าไปสู่การท�านายความเป็นไปของสังคมที่มีการรับวัฒนธรรม

ภายนอกเข้ามาอย่างไร และเพือ่เป็นประโยชน์ในการศกึษาการเปลีย่นแปลงของชมุชน

ที่มีลักษณะทางสังคมที่ใกล้เคียงกันกับชุมชนหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่นแห่งนี้

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกเสียงพยัญชนะท้าย (s)

และ (l) ในท้ายค�ายมืภาษาองักฤษในภาษาไทย และเปรยีบเทยีบความสมัพนัธ์ระหว่าง

การออกเสียงพยัญชนะท้ายดังกล่าวกับปัจจัยด้านอายุและวัจนลีลา โดยผู้วิจัยมี

สมมติฐานที่ว่า ผู้บอกภาษาจะมีการออกเสียง [s] [l] มากขึ้นในวัจนลีลาที่เป็นทางการ

มากขึ้นและผู้บอกภาษาจะมีการออกเสียง [s] [l] มากขึ้นตามการลดลงของอายุ

ผู้วิจัยก�าหนดขอบเขตของงานวิจัยชิ้นนี้คือ 1. ศึกษาการออกเสียง [s] และ [l]

ท้ายค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐานเท่านั้น 2. ศึกษาในเขตชุมชนวัดโนนม่วง

หมู่ 27 ซึ่งเป็นพื้นที่หลังมหาวิทยาลัยขอนแก่นเท่านั้น 3. ศึกษาเฉพาะการออกและ

ไม่ออกเสยีง [s] [l] ท้ายค�ายมืภาษาองักฤษในภาษาไทยมาตรฐานเท่านัน้และ 4. ผูว้จิยั

ศึกษากับผู้บอกภาษาในกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน โดยใช้เกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มอาย ุ

ตามที่ รัชนี เสนีย์ศรี-สันต์ (2526) แบ่งไว้ดังนี้

15-29 ปี แทน คนรุ่นใหม่

30-34 ปี แทน คนรุ่นค่อนข้างใหม่

Page 7: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

21

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

35-59 ปี แทน คนรุ่นค่อนข้างเก่า

60-80 ปี แทน คนรุ่นเก่า

ผู้วิจัยจะศึกษาในวัจนลีลาการสัมภาษณ์ การอ่านข้อความ และการอ่าน

รายการค�าเท่านั้น

การสัมภาษณ์ แทน วัจนลีลาที่ไม่เป็นทางการ

การอ่านข้อความ แทน วัจนลีลาที่เป็นทางการมาก

การอ่านรายการค�า แทน วัจนลีลาที่เป็นทางการมากที่สุด

วิธีการด�าเนินงานวิจัย

ผู้วิจัยด�าเนินการวิจัยโดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

1. การก�าหนดประชากรเป้าหมาย

ผู้วิจัยก�าหนดประชากรเป้าหมายโดยก�าหนดให้ผู้บอกภาษาเป็นเพศหญิง

ทั้งหมด เพื่อป้องกันการออกเสียงท้ายค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

ที่แตกต่างกันระหว่างผู้บอกภาษาเพศหญิงและผู้บอกภาษาเพศชาย และก�าหนดให้

ผู้บอกภาษาเกิดและมีภูมิล�าเนาปัจจุบันในชุมชนบ้านโนนม่วง และไม่เคยอพยพ

ย้ายถิ่น หรือตามที่ ปาลีรัตน์ ทรัพย์ปรุง (ปาลีรัฐ ทรัพย์ปรุง, 2536) กล่าวว่า

หากผูบ้อกภาษาไม่ได้เกดิและมภีมูลิ�าเนาในบรเิวณดงักล่าว จะต้องเคยอาศยัในพืน้ที่

เป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอายุบุคคลนั้น นอกจากนี้ ผู้บอกภาษาสามารถ

อ่านออกเขียนได้ เนื่องจากการเก็บข้อมูลในงานวิจัยชิ้นนี้มีการเก็บข้อมูลโดยการอ่าน

ข้อความและการอ่านรายการค�าร่วมด้วย

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

ผู้วิจัยด�าเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถามประวัติส่วนตัว

และแบบสอบถามที่มีรายการหัวข้อที่ใช้ในการสัมภาษณ์ในวัจนลีลาการสัมภาษณ์

จ�านวน 10 ข้อ 10 คะแนน ทั้งนี้ ผู้วิจัยก�าหนดค�าถามเผื่อไว้เป็น 12 ข้อเพื่อใช้ในกรณี

ที่ผู้บอกภาษาไม่สามารถตอบค�าถามได้ผู้วิจัยจะถามค�าถามที่ได้เผื่อไว้อีกสองข้อนั้น

แบบสอบถามที่ใช้ในวัจนลีลาการอ่านข้อความและแบบสอบถามที่ใช้ในวัจนลีลา

การอ่านรายการค�า (ดูภาคผนวก)

Page 8: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์22

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

3. ขั้นตอนการเก็บข้อมูล

ผู้วิจัยด�าเนินการเก็บข้อมูลโดยเริ่มจากการพูดคุยกับผู้บอกภาษาเพื่อสร้าง

ความคุ้นเคยเรียงล�าดับการเก็บข้อมูลตามวัจนลีลา กล่าวคือ โดยเริ่มเก็บข้อมูลจาก

วัจนลีลาการสัมภาษณ์ วัจนลีลาการอ่านข้อความและวัจนลีลาการอ่านเป็นค�า ซึ่งเรียง

ล�าดับจากวัจนลีลาที่เป็นทางการน้อยที่สุดไปหาวัจนลีลาที่เป็นทางการมากที่สุด

ตามล�าดบั จากนัน้ผูว้จิยับนัทกึข้อมลูในแบบบนัทกึข้อมลูโดยจดบนัทกึเฉพาะค�าทีม่เีสยีง

[s] และ [l] และน�าข้อมูลที่ได้มาจัดเรียงข้อมูลและนับความถี่ ในการนับความถี่ของ

การออกเสยีงนี ้ผูว้จิยันบัจ�านวนครัง้ของการออกเสยีงรปูแปร [s],[l] ของผูบ้อกภาษา

แต่ละคนในแต่ละวัจนลีลา โดยนับคะแนน 1 คะแนน ต่อ 1 ครั้งที่มีการปรากฏ

การออกเสียง [s], [l] จากนั้นผู้วิจัยหาผลรวมของจ�านวนครั้งการออกเสียง [s], [l]

ในแต่ละวจันลลีาของผูบ้อกภาษา จ�านวน 10 คน (แต่ละกลุม่อาย)ุ และท�าผลรวมของ

จ�านวนครั้งการออกเสียง [s], [l] ในแต่ละวัจนลีลาเป็นเปอร์เซ็นต์โดยใช้สูตร จากนั้น

ผู้วิจัยนะข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล โดยสูตรที่ใช้ในการค�านวณคือ

ร้อยละ = คะแนนรวมในการออกเสียง [s] [l] x 100

คะแนนเต็ม (100)

ผลการวิจัย

ผู้วิจัยได้แสดงผลการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกเป็นผลการ

วิจัยการออกเสียง [s] ของผู้บอกภาษาแต่ละกลุ่มอายุตามวัจนลีลาและส่วนที่สอง

เป็นการออกเสียง [l]ของผู้บอกภาษาแต่ละกลุ่มอายุตามวัจนลีลา ผลการวิเคราะห์

การออกเสียง [s] ของผู้บอกภาษาแสดงไว้ตามตารางที่ 1 ดังนี้

Page 9: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

23

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

ตารางที่ 1 การออกเสียง [s] ของผู้บอกภาษาทุกกลุ่มอายุในวัจนลีลาการสัมภาษณ์

วัจนลีลาการอ่านข้อความ และวัจนลีลาการอ่านเป็นค�าล�าดับที่ รุ่น/อายุ (ปี) วัจนลีลา

การสัมภาษณ์

วัจนลีลา

การอ่านข้อความ

วัจนลีลา

การอ่านเป็นค�า

1. ใหม่ (15-29) 23 37 70

2. ค่อนข้างใหม่ (30-44) 17 23 48

3. ค่อนข้างเก่า (45-59) 7 15 30

4. เก่า (60-80) 0 5 4

ผู ้บอกภาษาในชุมชนบ้านโนนม่วงแต่ละกลุ ่มอายุมีการออกเสียง [s]

ที่แตกต่างกันในแต่ละวัจนลีลา จากตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่า ในวัจนลีลาการสัมภาษณ์

ผูบ้อกภาษาซึง่เป็นกลุม่คนรุน่ใหม่จะมกีารออกเสยีง [s] มากทีส่ดุ (23%) รองลงมาคอื

ผูบ้อกภาษากลุม่คนรุน่ค่อนข้างใหม่ (17%) ผูบ้อกภาษากลุม่คนรุน่ค่อนข้างเก่า (7%)

และผู้บอกภาษากลุ่มคนรุ่นเก่า (0%) ตามล�าดับ ในวัจนลีลาการอ่านข้อความ

พบว่า ผู้บอกภาษาซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จะมีการออกเสียง [s] มากที่สุด (37%)

รองลงมาคือผู้บอกภาษากลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่ (23%) ผู้บอกภาษากลุ่มคนรุ่น

ค่อนข้างเก่า (15%) และผูบ้อกภาษากลุม่คนรุน่เก่า (5%) ตามล�าดบั ส่วนในวจันลลีา

การอ่านเป็นค�า พบว่า ผู้บอกภาษาซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จะมีการออกเสียง [s]

มากที่สุด (70%) รองลงมาคือผู้บอกภาษากลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่ (48%) ผู้บอก

ภาษากลุม่คนรุน่ค่อนข้างเก่า (30%) และผูบ้อกภาษากลุม่คนรุน่เก่า (4%) ตามล�าดบั

จากผลการวิจัยนี้จะเห็นได้ว่า ในทุกวัจนลีลา ผู้บอกภาษาซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นอายุน้อย

จะมีการออกเสียง [s] มากกว่ากลุ่มคนรุ่นอายุมาก

และเมื่อพิจารณาตามกลุ ่มอายุ พบว่า ผู ้บอกภาษาในกลุ่มคนรุ ่นใหม่

(15-29 ปี) มกีารออกเสยีง [s] ในวจันลลีาการสมัภาษณ์ร้อยละ 23 วจันลลีาการอ่าน

ข้อความร้อยละ 37 และวจันลลีาการอ่านเป็นค�าร้อยละ 70 ผูบ้อกภาษาในกลุม่ต่อมา

ได้แก่ ผู้บอกภาษาในกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่ (30-44 ปี) มีการออกเสียง [s]

ในวจันลลีาการสมัภาษณ์ร้อยละ 17 วจันลลีาการอ่านข้อความร้อยละ 23 และวจันลลีา

การอ่านเป็นค�าร้อยละ 48 ตามล�าดับ ส่วนผู้บอกภาษาในกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างเก่า

Page 10: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์24

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

(45-59 ปี) พบว่า มีการออกเสียง [s] ในวัจนลีลาการสัมภาษณ์ร้อยละ 7 วัจนลีลา

การอ่านข้อความร้อยละ 15 และวัจนลีลาการอ่านเป็นค�าร้อยละ 30 ตามล�าดับ

และผลการวิจัยในกลุ่มผู้บอกภาษารุ่นเก่า (60-80 ปี) พบว่า ไม่มีการออกเสียง [s]

ในวัจนลีลาการสัมภาษณ์ กล่าวคือ ปรากฏการออกเสียงเป็นร้อยละ 0 วัจนลีลา

การอ่านข้อความร้อยละ 5 และวัจนลีลาการข้อความร้อยละ 4 ตามล�าดับ

จากผลการวิจัยนี้จะเห็นได้ว่า ผู้บอกภาษาทุกกลุ่มจะมีการออกเสียง [s] มากขึ้น

ในวัจนลีลาที่เป็นทางการมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดเจนด้วยภาพที่ 1

ภาพที่ 1 การออกเสียง [s] ของผู้บอกภาษาทุกกลุ่มอายุในวัจนลีลาการสัมภาษณ์

วัจนลีลาการอ่านข้อความ และวัจนลีลาการอ่านเป็นค�าตามล�าดับ

จากภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่า ผู้บอกภาษาทุกกลุ่มจะมีการออกเสียง [s] เพิ่ม

มากขึ้นในวัจนลีลาที่เป็นทางการมากขึ้น กล่าวคือ ผู้บอกภาษาจะมีการออกเสียง [s]

มากที่สุดในวัจนลีลาการอ่านเป็นค�ารองลงมา ได้แก่ วัจนลีลาการอ่านข้อความ

และวจันลลีาการสมัภาษณ์ตามล�าดบั และเมือ่พจิารณาตามกลุม่อาย ุของผูบ้อกภาษา

พบว่า ผู้บอกภาษามีการออกเสียง[s]มากขึ้นตามกลุ่มอายุของผู้บอกภาษาที่น้อยลง

กล่าวคือ ผู้บอกภาษาในกลุ่มคนรุ่นใหม่ (15-29 ปี) มีการออกเสียง [s] มากที่สุด

Page 11: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

25

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

ในทุกวัจนลีลา รองลงมาได้แก่ ผู้บอกภาษาในกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่ (30-34 ปี)

ผูบ้อกภาษาในกลุม่คนรุน่ค่อนข้างเก่า (35-59 ปี) และ ผูบ้อกภาษาในกลุม่คนรุน่เก่า

(60-80 ปี) ตามล�าดับ

ส่วนผลการวจิยัในการออกเสยีง [l] ในทกุกลุม่อายใุนวจันลลีาการสมัภาษณ์

การอ่านข้อความ การอ่านเป็นค�า พบว่า มีความแตกต่างจากผลการวิจัยในการอ่าน

ออกเสียง [s] ดังที่ปรากฏในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 การออกเสียง [l] ของผู้บอกภาษาทุกกลุ่มอายุในวัจนลีลาการสัมภาษณ์

วัจนลีลาการอ่านข้อความ และวัจนลีลาการอ่านเป็นค�าล�าดับที่ รุ่น/อายุ (ปี) วัจนลีลา

การสัมภาษณ์

วัจนลีลา

การอ่านข้อความ

วัจนลีลา

การอ่านเป็นค�า

1. ใหม่ (15-29) 4 7 7

2. ค่อนข้างใหม่ (30-44) 0 7 7

3. ค่อนข้างเก่า (45-59) 0 0 0

4. เก่า (60-80) 0 0 0

จากตารางที่ 2 เมื่อพิจารณาการออกเสียง [l] ตามตัวแปรทางด้านอาย ุ

จะเห็นได้ว่า ผู้บอกภาษาซึ่งเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ (15-29 ปี), รุ่นค่อนข้างใหม่

(30-44 ปี), รุ่นค่อนข้างเก่า (45-59 ปี) และรุ่นเก่า (60-80 ปี) มีการออกเสียง [l]

ที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ มีการออกเสียง [l] น้อยในทุกกลุ่มอายุและทุกวัจนลีลา

กล่าวคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ (15-29 ปี) มีการออกเสียง [l] ในวัจนลีลาการสัมภาษณ์

คิดเป็นร้อยละ 4, วัจนลีลาการอ่านข้อความเท่ากับวัจนลีลาการอ่านเป็นค�า ได้แก่

ร้อยละ 7 ส่วนในผู้บอกภาษากลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่ (30-44 ปี) พบว่า ไม่ปรากฏ

การออกเสียง [l] ในวัจนลีลาการสัมภาษณ์ และการออกเสียง [l] ในวัจนลีลาการอ่าน

ข้อความและวัจนลีลาการอ่านเป็นค�า พบว่า มีการออกเสียงเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 7

ส่วนการออกเสียง [l] ในกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างเก่า (45-59 ปี) และกลุ่มคนรุ่นเก่า

(60-80 ปี) พบว่า ไม่มีการออกเสียง [l] ในทุกกลุ่มวัจนลีลา จากผลการวิจัยดังกล่าว

แสดงให้เห็นว่า กลุ่มอายุน้อยมีการออกเสียง [l] มากกว่ากลุ่มอายุมาก

Page 12: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์26

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

และเมื่อพิจารณาการออกเสียง [l] ตามตัวแปรทางด้านสังคมด้านวัจนลีลา

จะเหน็ได้ว่า ในวจันลลีาการสมัภาษณ์ ผูบ้อกภาษากลุม่คนรุน่ใหม่ (15-29 ปี) มกีาร

ออกเสียง [l] มากที่สุด (4%) ส่วนผู้บอกภาษากลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่ กลุ่มคนรุ่น

ค่อนเก่า และกลุ่มคนรุ่นเก่าไม่ปรากฏการออกเสียง ในวัจนลีลาการอ่านเป็นค�า พบว่า

กลุ่มคนรุ่นใหม่ (15-29 ปี) และกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่ (30-44 ปี) มีการออกเสียง [l]

7% แต่ไม่พบการออกเสียงดังกล่าวในกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างเก่า (45-59 ปี) และ

กลุม่คนรุน่เก่า (60-80 ปี) จากข้อมลูดงักล่าวแสดงให้เหน็ว่า การออกเสยีง [l] มกีาร

เพิม่ขึน้ตามวจันลลีาทีเ่ป็นทางการมากยิง่ขึน้ ซึง่ข้อมลูดงักล่าวทัง้ด้านอายแุละวจันลลีา

สามารถแสดงเป็นแผนภูมิที่ชัดเจนดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 การออกเสียง [l] ของผู้บอกภาษาทุกกลุ่มอายุในวัจนลีลาการสัมภาษณ์

วัจนลีลาการอ่านข้อความ และวัจนลีลาการอ่านเป็นค�าตามล�าดับ

จากภาพที่ 2 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ผู ้บอกภาษาทุกกลุ ่มจะมีการ

ออกเสยีง [l] น้อยมาก ในทกุวจันลลีา กล่าวคอื เมือ่พจิารณาตามวจันลลีาทีเ่ป็นทางการ

น้อยที่สุดไปหาวัจนลีลาที่เป็นทางการมากที่สุด ซึ่งได้แก่ วัจนลีลาการสัมภาษณ์

Page 13: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

27

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

วัจนลีลาการอ่านข้อความและวัจนลีลาการอ่านเป็นค�า จะพบเพียง

การออกเสียง [l] มากขึ้นตามวัจนลีลาที่เป็นทางการมากขึ้นในกลุ่มของผู้บอกภาษา

ที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ (15-29 ปี)และผู้บอกภาษาที่เป็นกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่

(30-44 ปี) เท่านั้น ส่วนผู้บอกภาษารุ่นอื่นๆ ไม่ปรากฏการออกเสียง [l]

แม้จะอยู่ในวัจนลีลาที่เป็นทางการก็ตาม นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาตามตัวแปร

ทางสังคมด้านอายุ พบว่า ในกลุ่มคนที่อายุมากขึ้นจะมีการออกเสียง [l] น้อยลง

ดังจะเห็นว่า กลุ่มคนรุ่นอายุค่อนข้างเก่าและกลุ่มคนรุ่นเก่าไม่มีการออกเสียง [l]

ส่วนกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างใหม่มีการออกเสียง [l] น้อยกว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่เล็กน้อย

สรุปผลและอภิปรายผล

งานวิจัยนี้สรุปได ้ว ่า เป ็นไปตามสมมติฐานบางประเด็น กล ่าวคือ

จากสมมติฐานข้อแรกที่ว่า ผู้บอกภาษาจะมีการออกเสียง [s] [l] มากขึ้นในวัจนลีลา

ที่เป็นทางการมากขึ้น สรุปได้ว่า เป็นไปตามสมมติฐานบางส่วน กล่าวคือ ผู้บอกภาษา

ทุกกลุ่มอายุมีการออกเสียง [s] มากขึ้นในวัจนลีลาที่เป็นทางการมากขึ้น ส่วนการ

ออกเสียง [l] ผู้บอกภาษาจะมีการออกเสียงมากขึ้นบางกลุ่มและมีอัตราการออกเสียง

น้อยมากในทุกวัจนลีลา ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ไม่สามารถจัดรูปแบบการออกเสียง [l]

ตามปัจจัยสังคมทางวัจนลีลาได้ เนื่องจากมีข ้อมูลที่ไม ่เพียงพอที่จะสรุปว ่า

การออกเสียง [l] ปรากฏสูงขึ้นในวัจนลีลาที่เป็นทางการมากขึ้น กล่าวอีกทางหนึ่งคือ

การออกเสยีง [s] เป็นไปตามสมมตฐิาน แต่การออกเสยีง [l] ไม่เป็นไปตามสมมตฐิาน

จากลักษณะเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า เสียงพยัญชนะท้าย (s) ได้ถูกยืม

เข้ามาใช้ ท้ายค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน ดังที่ปรากฏการใช้มากขึ้น

ในวัจนลีลาที่เป็นทางการมากขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นดังที่ ลาบอฟ (อ้างใน อมรา

ประสทิธิร์ฐัสนิธุ,์ 2544: 160) กล่าวไว้ว่า เกณฑ์ทีท่�าให้ภาษาเป็นทางการหรอืไม่เป็น

ทางการกค็อืความจงใจในการใช้ภาษา อนัเกดิจากข้อสมมตเิบือ้งต้นทีว่่า การพดูท�าให้

ภาษาเป็นทางการน้อยกว่าการอ่าน และการอ่านข้อความต่อเนือ่งเป็นทางการน้อยกว่า

การอ่านค�า ในแบบทดสอบในงานวิจัยนี้ใช้วัจนลีลาการสัมภาษณ์ การอ่านข้อความ

และการอ่านออกเสยีง จงึตรงกบัทีล่าบอฟได้อธบิายไว้ และแสดงให้เหน็อย่างชดัเจนว่า

Page 14: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์28

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ผู้บอกภาษามีความจงใจที่จะออกเสียง [s] ในวัจนลีลาที่เป็นทางการมากขึ้น แสดงให้

เหน็ว่า เสยีงพยญัชนะท้าย (s) ได้ถกูยมืเข้ามาใช้ ท้ายค�ายมืภาษาองักฤษในภาษาไทย

มาตรฐานโดยไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

ส่วนการออกเสยีง [l] นัน้ จากข้อสรปุแสดงให้เหน็ว่า เสยีง [l] เป็นเพยีงเสยีง

ทีไ่ม่นยิมใช้ ไม่ได้เป็นเสยีงทีย่มืมาจากภาษาองักฤษและไม่มอีทิธพิลใดๆ ต่อการออก

เสียงท้ายค�ายืมของคนในชุมชนหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่วนสมมติฐานข้อที่สองที่ว่า ผู้บอกภาษาจะมีการออกเสียง [s] [l] มากขึ้น

ตามการลดลงของอายุ พบว่า เป็นไปตามสมมติฐาน กล่าวคือ เมื่อผู้บอกภาษามีอายุ

มากขึ้นก็จะมีการออกเสียง [s] น้อยลง ส่วนเสียง [l] เมื่อผู้บอกภาษายิ่งเมื่อมีอายุมากขึ้น

ก็จะมีการออกเสียง [l] น้อยลงจนกระทั่งไม่มีการออกเสียงเลย แสดงให้เห็นว่า

การออกเสียง [s] [l] ที่มากขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับการลดลงของอายุ ข้อสรุปเช่นนี้สามารถ

น�าไปสู่การท�านายที่ว่า คนในชุมชนหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะมีการออกเสียงพยัญชนะ

ท้าย (s) ท้ายค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยกันในวงกว้างและมีการใช้ในชีวิตประจ�าวัน

มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ผู้วิจัยสังเกตได้ว่า เสียง [s] ถูกใช้แทนรูปแปร [z] ถึงร้อยละร้อย

กรณีดังกล่าว เกิดขึ้นในผู้บอกภาษาที่มีการออกเสียง [s] ในค�าว่า ‘ชีสเบอร์เกอร์’

ซึ่งเป็นค�าทดสอบในงานวิจัย ผู้วิจัยพบว่า การออกเสียงที่ถูกต้องในภาษาอังกฤษ

ถึงแม้จะต้องใช้เสียงเสียดแทรกปุ่มเหงือก- โฆษะ [z] อย่างไรก็ตาม คนในชุมชนก็ม ี

การใช้ [s] แทนเสียงดังกล่าวกันในวงกว้าง แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เสียง [s]

ถูกยืมเข้ามาใช้ในชุมชนแล้ว

ส่วนการออกเสียง [l] นั้นไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อการออกเสียงท้ายค�ายืมของ

คนในชมุชนนีใ้นอนาคตอนัใกล้ ดงัจะเหน็จากในกลุม่คนอาย ุ35 ปีขึน้ไปไม่มกีารออก

เสียง [l] และกลุ่มคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปีก็มีการออกเสียงดังกล่าวน้อยมาก ดังนั้น

จึงท�านายได้ว่า การออกเสียง [l] จะไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อชุมชนในอนาคตอันใกล้นี้

บรรณานุกรม

ปาลีรัฐ ทรัพย์ปรุง. (2536). การแปรของเสียง (h) ในภาษาถิ่นสงขลา เขตชุมชน

เมอืงตามปัจจยัทางสงัคม. วทิยานพินธ์มหาบณัฑติ จฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลยั.

Page 15: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

29

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

ธิดา พูลทรัพย์. (2537). การแปรตามวัจนลีลาของ (ร) และ (ล) ในพยัญชนะ

ควบกล�้าในภาษาไทยกรุงเทพฯของนักเรียน หญิงชั้นมัธยมปีที่ 4

โรงเรียนศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รชัน ีเสนย์ีศรสีนัต์. (2526). การศกึษาเปรยีบเทยีบเสยีงและระบบเสยีงในภาษาลาว

พวนมาบปลาเค้า ของผู้พูดภาษาที่มีอายุต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริรัตน์ ศิริวิสูตร. (2536). การแปรของเสียงพยัญชนะท้าย (1) ในค�ายืมภาษา

อังกฤษในภาษาไทยตามวัจนลีลาและพื้นฐานการศึกษา. วิทยานิพนธ ์

มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงจันทร์ ตรียกูล. (2529). การแปรของ ร และ ล ในภาษาไทย กรุงเทพฯ

ตามวัจนลีลา : การศึกษาการออกเสียงของผู ้ประกาศข่าวประจ�า

สถานีวิทยุกระจายเสียงภาคเอฟ.เอ็ม. ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์

มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนงค์นาฏ นุศาสตร์เลิศ. (2551). การออกเสียงพยัญชนะท้าย (s) ในค�ายืมภาษา

องักฤษในภาษาไทยตามพืน้ฐานการศกึษาและอายใุนชมุชนวดัหวัล�าโพง.

งานวจิยัประกอบการศกึษาวชิาภาษาศาสตร์สงัคม. จฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลยั.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องัสนา จามกิรณ์. (2532). การแปรในการออกเสยีงพยญัชนะท้ายของค�ายมืภาษา

อังกฤษที่ลงท้ายด้วยเสียงเสียดแทรก-ปุ ่มเหงือก : กรณีศึกษาของ

ข้าราชการกองทพัเรอืไทย. วทิยานพินธ์มหาบณัฑติ จฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลยั.

Labov, William A. (1972). The social Stratification of (r) in New York City

Department Stores. In Willian Labov (ed.) .Sociolinguistic Patterns.

Philadelphia: University of Pennsylvania Press and Oxford: Blackwell.

Trudgill, Peter. 1972. Sex, Covert Prestige and Linguistic Change in the Urban

British English of Norwich. Language in Society. 1: 179-96.

Page 16: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์30

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ภาคผนวก

แบบสอบถามที่ใช้ในงานวิจัย ชุดที่ 1 2 3 และ 4

แบบสอบถามที่ใช้ในวัจนลีลาการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลในการออกเสียง [s]

ชุดที่ 1

1. เสื้อเบอร์อะไรเล็กที่สุด

2. เสื้อเบอร์อะไรใหญ่กว่าเสื้อเบอร์เอ็ม

3. นอกจากการประกวดนางสาวไทยแล้ว มีการประกวดความงามเวทีใด

อีกบ้าง

4. ถ้าไม่อยากใช้น�้ามันเติมรถยนต์เราใช้อะไรเติมแทนได้

5. จงบอกชื่อกีฬาที่เล่นเป็นทีม

6. จงยกตัวอย่างขยะที่ย่อยสลายยาก

7. จงบอกชื่อหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่ท่านรู้จัก

8. นอกจากเพลงป๊อบและเพลงร็อคแล้ว คุณรู้จักเพลงประเภทใดอีกบ้าง

9. รถอะไรที่จุคนได้ครั้งละ 20-30 คน

10. นอกจากแฮมเบอร์เกอร์แล้วยังมีเบอร์เกอร์อะไรอีกบ้าง

11. ห้างสรรพสินค้าใดที่ขายของในราคาขายส่ง

12. เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสคือเมืองใด

แบบสอบถามที่ใช้ในวัจนลีลาการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลในการออกเสียง [l]

ชุดที่ 2

1. เสื้อเบอร์อะไรใหญ่กว่าเสื้อเบอร์เอ็ม

2. นอกจากการประกวดนางสาวไทยแล้ว มีการประกวดความงามเวทีใด

อีกบ้าง

3. จงบอกชื่อกีฬาที่เล่นเป็นทีม

4. จงบอกชื่อยี่ห้อลูกอมที่มีสีเหลือง

5. จงบอกชื่อโรงแรมในจังหวัดขอนแก่น

Page 17: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

31

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s) ในค�ายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมาตรฐาน

6. จงบอกชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดขอนแก่น

7. เครื่องส�าอางทาหน้านอกจากมีชนิดที่เป็นเนื้อครีมแล้วยังมีชนิดใดอีก

8. การส่งจดหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร

9. คนที่ดื่มนมมากๆ จะได้รับแร่ธาตุอะไรมากเป็นพิเศษ

10. จงบอกชื่อประเทศที่อยู่ในละแวกอินเดียและทิเบต

11. จงบอกชื่อเว็บไซต์ที่ใช้สืบค้นข้อมูล

12. เมืองหลวงของประเทศเกาหลีคือเมืองใด

แบบสอบถามที่ใช้ในวัจนลีลาการอ่านข้อความเพื่อเก็บข้อมูลในการออกเสียง [s]

และ [l] ชุดที่ 3

วันสุดสัปดาห์ของฉัน

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ฉันและครอบครัวไปเที่ยวพัทยากัน คุณแม่จัดเตรียม

อาหารใส่กล่องพลาสตกิถนอมอาหารส�าหรบัไปปิกนกิด้วย มทีัง้ขนมปัง แฮมเบอร์เกอร์

ชีสเบอร์เกอร์ พวกเราพักกันที่โมเตลเล็กๆ ที่ไม่ห่างจากชายหาดมากนัก พอเราไปถึง

ทีน่ัน่ ฉนัและน้องสาวชวนกนัไปเล่นวอลเล่ย์บอลชายหาด ส่วนคณุพ่ออ่านหนงัสอืพมิพ์

บางกอกโพสต์ รออยูแ่ถวนัน้ ตกเยน็คณุพ่อพาพวกเราไปทานอาหารทะเลทีร้่านชือ่ดงั

ที่ค่อนข้างไกลจากที่พัก คุณแม่ชวนพวกเรานั่งรถมินิบัสเพราะอยากจะประหยัด

ค่าใช้จ่าย คณุพ่อบอกว่าไม่ต้องเป็นห่วงเพราะในยคุทีน่�้ามนัแพงอย่างนี ้คณุพ่อเปลีย่น

มาใช้แก๊สโซฮอลล์แทน ในวันนั้นฉันมีความสุขมากที่ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน

เราถ่ายภาพกันหลายภาพเพื่อเป็นที่ระลึก พอกลับมาถึงบ้าน ฉันไม่ลืมส่งอีเมลล์

เล่าเรื่องสนุกๆ ให้พี่ชายที่เนปาลฟังและโชว์รูปให้เพื่อนๆ ดูบนเฟสบุ๊คอีกด้วย ขณะที่

ฉันก�าลังเพลินเพลินอยู่นั้น คุณแม่และน้องสาวก็กรี๊ดเสียงดัง เนื่องจากผู้เข้าประกวด

มิสไทยแลนด์เวิร์ล ที่พวกเขาเชียร์อยู่เข้ารอบสุดท้าย คืนนั้นพวกเราเหนื่อยกันมาก

ดืม่นม ทานแคลเซยีมแล้วกเ็ข้านอน เช้าวนัอาทติย์เป็นวนัเดนิทางกลบั พวกเราขบัรถ

ผ่านบายพาสและโทลล์เวย์หลายแห่ง ก่อนเข้าบ้านคณุพ่อคณุแม่พาแวะไปซือ้ของกนิ

และของใช้ที่เทสโก้โลตัสใกล้บ้าน ฉันไม่ลืมซื้อเจลแต้มจุดด่างด�าอันเกิดจากสิวและ

การโดนแดดจากการไปทะเลในครั้งนี้

Page 18: การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ (s ... Age...ว าง Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 การออกเส ยงพย ญชนะท

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์32

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในการออกเสียง [s] และ [l] ชุดที่ 4

พลาสติก ชีสเบอร์เกอร์ บางกอกโพสต์ มินิบัส แก๊ส

เฟสบุ๊ค มิสไทยแลนด์เวิร์ล บายพาส เทสโก้โลตัส

โมเตล วอลเล่ย์บอล แก๊สโซฮอลล์

อีเมลล์ เนปาล อีเมลล์

มิสไทยแลนด์เวิร์ล เจล แคลเซียม โทลล์เวย์