เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... ·...

9
เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน: 2.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง วันที่รับรอง: 8 พฤศจิกายน 2559 วันที่หมดอายุ: 8 พฤศจิกายน 2560 เรียบเรียงโดย: ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด บทคัดย่อ Continuous Glucose Monitoring (CGM) เป็นระบบตรวจวัดระดับน้ำตาลในร่างกาย และรายงานผลอ ย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะระดับ น้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรงหรือที่เกิดอันตราย เพราะระบบนี้จะเตือนให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลได้รับรู้ก่อนที่จะเกิด เหตุการณ์ดังกล่าว จนเป็นที่ยอมรับและอนุญาตให้ใช้ CGM ในหลายประเทศ แต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์นี้ยังต้อง พัฒนาความแม่นยำและถูกต้องให้ถึงระดับที่ได้มาตรฐาน ผู้ที่ใช้ CGMจึงยังต้องใช้ Self-monitoring of blood glucose meter (SMBG) ประกอบเพื่อยืนยันค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนการปรับการรักษาทุกครั้ง ระบบ CGM จะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ sensor, transmitter และ mobile application ที่จะทำหน้าทีตรวจจับน้ำตาล ส่งข้อมูล ทำการคำนวณ แปลผล และแสดงค่าน้ำตาลให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแล รวมถึงการเตือนเมื่อ ระดับน้ำตาลผิดปกติ ซึ่งในการศึกษา PRECISE ที่ทดลองใช้ CGM พบว่า ค่า mean absolute relative difference (MARDs) ระหว่างระดับน้ำตาลที่อ่านได้จาก CGM และระดับน้ำตาลที่ตรวจวัดจากเลือดของระดับน้ำตาลทุก ช่วง = 11.6% ลดระดับ HbA1c จาก 7.5% เมื่อแรกเข้า เหลือ 7.2% เมื่อสิ้นสุดการศึกษา (p < .001) และลดเวลาทีเกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจาก 5.3% ในเดือนแรก เหลือ 4.4% ในเดือนสุดท้าย (p = .003) ในด้านอายุการใช้งาน ของ sensor มีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 149 วัน และ sensor ทุกชิ้น มีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 45 วัน และมีความแม่นยำ ในการส่งสัญญาณระดับน้ำตาลได้ตลอดอายุการใช้งาน (เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์รุ ่นอื ่นที่มีวางจำหน่ายใน ปัจจุบัน มีค่ามัธยฐานของอายุการใช้งาน < 7 วัน) ในด้านความปลอดภัย จากจำนวนครั้งของการฝังอุปกรณ์ใน กลุ่มทดลองทั้ง 292 ครั้ง ไม่พบอาการอันไม่พึงประสงค์โดยตรงจากอุปกรณ์นี้เลย แต่พบว่าเกิดจากกรรมวิธีใน การฝัง 14 ครั้ง และในจำนวนนี้มีการติดเชื้อ 2 ครั้ง และอุปกรณ์ Eversense ® นี้ได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรป ให้ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานได้ นาน 90 วัน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบ CGM แบบ non-invasive และต่อยอด CGM ไปเป็น ตับอ่อนเทียม ทีสมบูรณ์แบบได้ในอนาคตอันใกล้นีหวยตการกษาอเองหบ ประกอบชาพเภชกรรม

Transcript of เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... ·...

Page 1: เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... · เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน:

เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM)

รหัส: 1013-1-000-004-11-2559

จำนวน: 2.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง

วันที่รับรอง: 8 พฤศจิกายน 2559

วันที่หมดอายุ: 8 พฤศจิกายน 2560

เรียบเรียงโดย: ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด

บทคัดย่อ

Continuous Glucose Monitoring (CGM) เป็นระบบตรวจวัดระดับน้ำตาลในร่างกาย และรายงานผลอ

ย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอด 24 ชั่วโมง ซ่ึงจะเกิดประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะระดับ

น้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรงหรือที่เกิดอันตราย เพราะระบบนี้จะเตือนให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลได้รับรู้ก่อนที่จะเกิด

เหตุการณ์ดังกล่าว จนเป็นที่ยอมรับและอนุญาตให้ใช้ CGM ในหลายประเทศ แต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์นี้ยังต้อง

พัฒนาความแม่นยำและถูกต้องให้ถึงระดับที่ได้มาตรฐาน ผู้ที่ใช้ CGMจึงยังต้องใช้ Self-monitoring of blood

glucose meter (SMBG) ประกอบเพื่อยืนยันค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนการปรับการรักษาทุกครั้ง

ระบบ CGM จะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ sensor, transmitter และ mobile application ที่จะทำหน้าที่

ตรวจจับน้ำตาล ส่งข้อมูล ทำการคำนวณ แปลผล และแสดงค่าน้ำตาลให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแล รวมถึงการเตือนเม่ือ

ระดับน้ำตาลผิดปกติ ซ่ึงในการศึกษา PRECISE ที่ทดลองใช้ CGM พบว่า ค่า mean absolute relative difference

(MARDs) ระหว่างระดับน้ำตาลที่อ่านได้จาก CGM และระดับน้ำตาลที่ตรวจวัดจากเลือดของระดับน้ำตาลทุก

ช่วง = 11.6% ลดระดับ HbA1c จาก 7.5% เม่ือแรกเข้า เหลือ 7.2% เม่ือส้ินสุดการศึกษา (p < .001) และลดเวลาที่

เกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจาก 5.3% ในเดือนแรก เหลือ 4.4% ในเดือนสุดท้าย (p = .003) ในด้านอายุการใช้งาน

ของ sensor มีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 149 วัน และ sensor ทุกชิ้น มีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 45 วัน และมีความแม่นยำ

ในการส่งสัญญาณระดับน้ำตาลได้ตลอดอายุการใช้งาน (เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์รุ่นอื่นที่มีวางจำหน่ายใน

ปัจจุบัน มีค่ามัธยฐานของอายุการใช้งาน < 7 วัน) ในด้านความปลอดภัย จากจำนวนครั้งของการฝังอุปกรณ์ใน

กลุ่มทดลองทั้ง 292 ครั้ง ไม่พบอาการอันไม่พึงประสงค์โดยตรงจากอุปกรณ์นี้เลย แต่พบว่าเกิดจากกรรมวิธีใน

การฝัง 14 ครั้ง และในจำนวนนี้มีการติดเชื้อ 2 ครั้ง และอุปกรณ์ Eversense® นี้ได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรป

ให้ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานได้ นาน 90 วัน ต้ังแต่เดือน พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบ CGM แบบ non-invasive และต่อยอด CGM ไปเป็น ตับอ่อนเทียม ที่

สมบูรณ์แบบได้ในอนาคตอันใกล้นี้

หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องสำหรับ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

Page 2: เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... · เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน:

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจใน Continuous Glucose Monitoring

2. เพื่อให้เข้าใจถึงคุณลักษณะและข้อจำกัดของ Continuous Glucose Monitoring

3. เพื่อให้เข้าใจถึง Non Invasive Continuous Glucose Monitoring

4. เพื่อให้เข้าใจถึง แนวคิดเรื่อง ตับอ่อนเทียม

คำสำคัญ: ตรวจวัดระดับน้ำตาล, ตับอ่อนเทียม

Keyword: Continuous Glucose Monitoring, PRECISE, Non Invasive Continuous Glucose Monitoring,

Artificial pancreas

Continuous Glucose Monitoring (CGM) คือ อะไร

CGM (1,2) หมายถึง อุปกรณ์ที่มี sensor สำหรับตรวจวัดระดับของน้ำตาลในร่างกายได้ตลอดเวลา และ

จะแสดงผลออกมาอย่างสม่ำเสมอ อาจจะทุกๆ 1-5 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ป่วย ญาติ หรือ บุคลากร

ทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย ได้ทราบถึงระดับน้ำตาลในเนื้อเยื่อ และสะท้อนระดับในเลือด ซ่ึงเป็นการพัฒนาต่อย

อดจาก Self-Monitoring of Blood Glucose meter (SMBG) ที่ปัจจุบันนิยมใช้กันในผู้ป่วยเบาหวาน

CGM แตกต่างจาก SMBG อย่างไร

SMBG เป็นอุปกรณ์ที่วัดระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะที่ปลายนิ้วเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องใช้เลือด

เป็นจำนวนมากเหมือนการเจาะเลือดเม่ือตรวจร่างกายที่ปฏิบัติกันในสถานพยาบาล ถึงแม้ว่า SMBG จะสะดวก

ใช้เลือดเพียงเล็กน้อยจากปลายนิ้ว และเจ็บปวดไม่มาก แต่หากต้องการทราบผลระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วย

จำเป็นต้องถูกเจาะเลือดทุกครั้ง ทำให้รู้สึกเจ็บ ได้เห็นเลือด และมีค่าใช้จ่าย ทั้งยังทราบระดับน้ำตาลในเลือด ณ

เวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่สามารถทราบค่าดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา

จากข้อจำกัดดังกล่าว จึงมีการพัฒนา “CGM” หรือ “Continuous Glucose Monitoring” หรือ “อุปกรณ์

ตรวจระดับน้ำตาลแบบตลอดเวลา” เพื่อให้แสดงผลระดับน้ำตาลในร่างกายได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยจะมี

sensor ฝังหรือสอดไว้ใต้ผิวหนัง และ sensor นี้ จะตรวจระดับน้ำตาลในของเหลวระหว่างเซลล์ในเนื้อเยื่อ

(interstitial space) ณ ตำแหน่งที่ sensor ต้ังอยู่ และส่งสัญญาณออกมาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง จึงแตกต่างจาก

SMBG ที่วัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเจาะจากปลายนิ้ว และตรวจวัดได้เฉพาะเวลาที่ตรวจ เป็นครั้งๆ และจะต้อง

ทำการเจาะเลือดทุกครั้งที่ตรวจ

นอกจากนี้จากการทบทวนวรรณกรรมของ A.M.Kyaw et al. (3) ยังพบว่า CGM อาจจะได้ผลดีกว่า

SMBG ในการลดระดับ HbA1C ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 อีกด้วย

Page 3: เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... · เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน:

คุณสมบัติและข้อจำกัดของ CGM (1,2)

CGM จะมีอุปกรณ์ sensor ที ่ฝังใต้ผิวหนัง ซึ ่งจะมีอายุการใช้งานได้นานหลายๆ วั นจนถึง เป็นสัปดาห์

เป็นเดือน หรือ หลายเดือน แล้วแต่ชนิดและรุ่นของ CGM และในรายที่อุปกรณ์ sensor มีอายุส้ัน ก็จะต้องเปลี่ยน

อุปกรณ์นี้ใหม่เม่ือหมดอายุการใช้งาน เพื่อให้เกิดการต่อเนื่องในการติดตามระดับน้ำตาลในร่างกายได้

ข้อดีของ CGM คือ ทำให้ทราบถึงระดับน้ำตาลในร่างกายตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ทราบแนวโน้มของ

ระดับน้ำตาลในเลือดว่า เพิ่มข้ึน หรือ ลดลง นอกจากนี้ในหลายรุ่นยังมีระบบเตือน เม่ือระดับน้ำตาลในร่างกายสูง

หรือต่ำเกินไป จึงมีประโยชน์ในการเตือนให้ผู้ป่วยได้รับทราบและดูแลจัดการแก้ไขสภาวะระดับน้ำตาลในเลือด

ต่ำ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่เคยมีประวัติระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรงได้รับรู้ถึงสภาวะดังกล่าว ก่อน

ที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองได้

อนึ่ง ผลการตรวจระดับน้ำตาลในร่างกายของ CGM ยังไม่เที่ยงตรงและแม่นยำเท่ากับ SMBG ดังนั้นผู้

ป่วยที่ติดต้ัง CGM แล้ว เม่ือระดับน้ำตาลมีแนวโน้มต่ำ หรือ สูงเกินไป จะต้องใช้ SMBG เพื่อยืนยันผล ก่อนการ

ดำเนินการทางการแพทย์ หรือ ปรับเปลี่ยนขนาดของยา อย่างไรก็ตามหากในอนาคตมีการพัฒนาระบบ CGM จน

มีความถูกต้องแม่นยำ ก็จะลดปัญหาเหล่านี้ลงได้

ข้อบ่งใช้ของ CGM ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ในปัจจุบัน The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ของสหราชอาณาจักรได้

อนุมัติให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความจำเป็นเท่านั้นที่สามารถใช้ continuous glucose monitoring (CGM) ได้ (4) อัน

ได้แก่

- ผู้ป่วยเบาหวานที่เคยมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรง อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี หรือ

- ผู้ที่เคยมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำโดยไม่มีอาการ ฯลฯ เป็นต้น

ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้เคยมีประวัติและแนวโน้มที่จะเกิดอันตรายจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จึงจะต้องมีการ

ใช้ CGM นี้ โดยกำหนดให้ใช้ CGM ไม่น้อยกว่า 70% ของเวลาทั้งหมด ทั้งจะต้องมีการตรวจสอบความแม่นยำ

ของอุปกรณ์นี้อย่างสม่ำเสมอ และเป็นผู้ป่วยมีการใช้ยาฉีดอินซูลินวันละหลายๆครั้ง หรือ ได้ใช้ปัมป์ยาอินซูลิน

ซ่ึงจะต้องมีแพทย์ให้การดูแลและคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวกับผู้ป่วยอีกด้วย

รายงานการศึกษา CGM ในผู้ป่วยเบาหวาน

จากการศึกษา Prospective, Multicenter Evaluation of the Accuracy of a Novel Continuous Implanted

Glucose Sensor Clinical Investigation (PRECISE) เป็นระยะเวลา 180 วัน เพื่อประเมินความถูกต้องแม่นยำของ

อุปกรณ์ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่องแบบฝังใต้ผิวหนัง ซ่ึงนำเสนอในการประชุมประจำปี 2016 ของ

สมาคมการศึกษาโรคเบาหวานของยุโรป (European Association for the Study of Diabetes, EASD) เม่ือวันที่ 15

กันยายน 2016 โดย นายแพทย์ Jort Kropff ของมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม สาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ (5)

Page 4: เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... · เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน:

ในการศึกษานี้มีกลุ่มตัวอย่าง 71 ราย เป็นโรคเบาหวานชนิด 1 หรือ ชนิดที่ 2 และได้รับอินซูลินชนิดฉีด

หรือแบบปั๊ม ซ่ึงผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 42 ปี เป็นโรคเบาหวานมา 22 ปี และมีระดับ HbA1c เท่ากับ 7.6% โดยเกือบ

ครึ่งหนึ่ง (45%) เคยใช้ CGM มาแล้ว

ในระหว่างการศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้รับการฝัง sensor 2 อัน ของ Eversense® CGM (continuous glucose

monitoring) System ณ แขนของกลุ่มตัวอย่างข้างละ 1 อัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใส่อุปกรณ์นี้อยู่ตลอดเวลา โดย

มีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 23.5 ชม./วัน และมีการปรับความแม่นยำทุกวันๆละ 2 ครั้ง พร้อมทั้งให้กลุ่มตัวอย่างได้

ทราบผลของระดับน้ำตาลในเลือดตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา

มีการประเมินความแม่นยำและความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่ฝัง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน โดยการ

ประเมินความแม่นยำของ CGM นี้จะใช้การเปรียบเทียบกับ reference test อันได้แก่ การตรวจวัดระดับ glucose

ในเลือด ซ่ึงใช้ Yellow Springs Instrument และแสดงผลเป็นค่า mean absolute relative difference (MARD, ซ่ึงมี

ค่าเท่ากับ {∑IX-YI }/Mean หรือ ผลรวมของค่าสัมบูรณ์ของผลต่างของตัวแปร 2 ตัว หารด้วย ค่าเฉลี่ย) ระหว่าง

ระดับน้ำตาลที่อ่านได้จาก CGM และระดับน้ำตาลในเลือดที่วัดได้จาก Yellow Springs Instrument

พบว่า ค่า MARDs มีค่า 11.6% สำหรับค่าระดับน้ำตาลทั้งหมด และเม่ือแยกเป็นกลุ่มที่น้ำตาลในเลือดต่ำ

(hypoglycemic range, < 75 mg/dL) มีค่า MARDs เท่ากับ 21.7% ในกลุ่มที่น้ำตาลในเลือดปกติ (euglycemia 75–

180 mg/dL) มีค่า MARDs เท่ากับ 11.9% และ ในกลุ่มที่น้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia, > 180 mg/dL) มีค่า

MARDs เท่ากับ 9.2%

นอกจากนี้ระดับ HbA1c ลดลงจาก 7.5% เม่ือแรกเข้า เหลือ 7.2% เม่ือส้ินสุดการศึกษา (p < .001) ทั้งยัง

ลดเวลาที่เกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจาก 5.3% ในเดือนแรก เหลือ 4.4% ในเดือนสุดท้าย (p = .003)

ในด้านอายุการใช้งานของ sensor มีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 149 วัน (เม่ือเปรียบเทียบกับ sensor ในอุปกรณ์

รุ่นอื่นที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบัน มีค่ามัธยฐาน < 7 วัน) และ sensor ทุกชิ้น มีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 45 วัน และ

ทุกชิ้นมีความแม่นยำในการส่งสัญญาณระดับน้ำตาลได้ตลอดอายุการใช้งาน

ในด้านความปลอดภัย จากจำนวนครั้งของการฝังอุปกรณ์ในกลุ่มทดลองทั้ง 292 ครั้ง ไม่พบอาการอันไม่

พึงประสงค์โดยตรงจากอุปกรณ์นี้เลย แต่มีรายงานจำนวนทั้งส้ิน 19 ครั้ง ซ่ึงในจำนวนนี้เกิดจากกรรมวิธีในการ

ฝัง จำนวน 14 ครั้ง และมีภาวะแทรกซ้อนในการติดเชื้อ 2 ครั้ง เท่านั้น

ผลจากรายงานการศึกษา PRECISE นี้ ทำให้ อุปกรณ์ Eversense® รุ่นแรกนี้ได้รับการอนุมัติจากสหภาพ

ยุโรป ให้ใช้ได้ นาน 90 วัน ต้ังแต่เดือน พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา และในสหรัฐอเมริกามีรายงานการศึกษา

PRECISE II ซ่ึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (5)

The Eversense® CGM (continuous glucose monitoring) System (6)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา PRECISE เป็นระบบตรวจ ติ ดตาม และรายงานระดับน้ำตาลในร่างกาย

อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซ่ึงมีระบบตรวจจับระดับน้ำตาลที่มีอายุการใช้งานนาน จึงไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ทั้งยังมี

ระบบเตือนผู้ป่วยเม่ือระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินไปได้อีกด้วย ระบบนี้ได้ผ่านการรับรองของสหภาพยุโรปต้ังแต่

เดือนพฤษภาคม 2559 และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของ

Page 5: เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... · เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน:

สหรัฐอเมริกา ระบบตรวจระดับน้ำตาลในร่างกายนี้เป็นชนิดฝังใต้

ผิวหนัง ซ่ึงแสดงผลระดับน้ำตาลในเลือด แบบ real time จะประกอบไป

ด้วย 3 ส่วน ดังนี้

1. Sensor เป็นอุปกรณ์ตรวจจับระดับน้ำตาลในของเหลวระหว่างเซลล์

เนื้อเยื่อ ถูกออกแบบเป็นรูปแท่งทรงกระบอกขนาดเล็ก (sticklike) ยาว

ประมาณ 15 มม. (ดังแสดงในรูปที่ 1) ซ่ึงจะถูกฝังใต้ผิวหนังบริเวณแขน

ส่วนบนเหนือข้อศอก (ดังแสดงในรูปที่ 2A) และจะต้องดำเนินการโดย

แพทย์ ใช้เวลาประมาณ 5 นาทีในการสอดเข้าใต้ผิวหนัง แล้วจะมีอายุการ

ใช้งานนานประมาณ 90 วัน

การทำงานของ sensor นี้ จะได้รับพลังงานจาก smart transmitter (ดังแสดงในรูปที่ 2B & 2C) แล้ว

ตรวจจับหาระดับน้ำตาลในของเหลวระหว่างเซลล์ (interstitial fluid) ด้วย fluorescent glucose indicating

polymer technology แล้วส่งข้อมูลระดับน้ำตาลมายัง smart transmitter (แสดงเป็นรูปกล่องส่ีเหลี่ยมสีดำที่ต้น

แขน ดังแสดงในรูปที่ 2E)

รูปที่ 1 ขนาดและรูปร่างของ Sensor (6)

A

FED

CBA

รูปที่ 2 การทำงานของ The Eversense® CGM (continuous glucose monitoring) System (6)

Page 6: เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... · เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน:

2. Smart Transmitter เป็นเครื่องรับสัญญาณที่อยู่บนผิวในตำแหน่ง

เดียวกันกับ sensor ที่ฝังอยู่ (ดังแสดงในรูปที่ 3) ซ่ึงจะทำหน้าที่ให้

พลังงานกับ sensor พร้อมทั้งรับข้อมูลสัญญาณน้ำตาลจาก sensor แล้ว

คำนวณค่าระดับน้ำตาลในร่างกาย แล้วส่งข้อมูลระดับน้ำตาลใน

ร่างกายนี้ไปยัง mobile application บน สมาร์ทโฟน โดยผ่านสัญญาณ

Bluetooth (ดังแสดงในรูปที่ 2E) นอกจากนี้ smart transmitter

ยังสามารถต้ังค่าให้ส่ันได้ตามระดับของน้ำตาลที่กำหนด ซ่ึงจะส่ันและ

ช่วยเตือนผู้ป่วยให้รู้ล่วงหน้า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ก่อนที่ระดับ

น้ำตาลในเลือดจะสูงหรือต่ำเกินไป

3. Mobile Application บนสมาร์ทโฟน เม่ือมีการติดต้ังโปรแกรม

ประยุกต์ (application) ของระบบนี้ลงบนสมาร์ทโฟน smart

transmitter จะส่งสัญญาณแบบไร้สายไปยังสมาร์ทโฟน เพื่อแสดง

ผลลัพธ์ของระดับน้ำตาลในร่างกาย ได้ทุกๆ 5 นาที (ดังแสดงในรูปที่ 4) และแจ้งเตือนเม่ือระดับน้ำตาลผิด

ปกติตามที่ได้กำหนดไว ้

นอกจากนี้ mobile application บน สมาร์ทโฟน ยังเชื่อมต่อกับ server บน cloud และยังส่งข้อมูลไปยัง

เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ทโฟนเครื่องอื่นๆ ของญาติพี่น้อง หรือ แพทย์ ได้อีกด้วย (ดังแสดงในรูปที่ 2F)

ระบบนี้สามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการทั้ง iOS, Android, Applewatch, Internet Explorer, Google

Chrome, Firefox, ฯลฯ และมี 3 ภาษาให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ เยอรมัน หรือ สวีเดน

รูปที่ 3 การสวม Smart Transmitter (6)

รูปที่ 4 ผลที่ปรากฏบนหน้าจอของ Mobile Application บน สมาร์ทโฟน (6)

Page 7: เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... · เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน:

Non-invasive continuous glucose monitor

ถึงแม้ว่า CGM เป็นระบบที่ตรวจจับและส่งค่าระดับน้ำตาลในร่างกายได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแบบ

real time แล้วก็ตาม แต่ผู้ใช้ทุกรายจะต้องสอดใส่หรือฝัง sensor ลงไปใต้ผิวหนัง และมีอายุการใช้งาน จึงต้อง

ปรับเปลี่ยน sensor นี้ใหม่ เม่ือหมดอายุการใช้งาน จึงมีความคิดค้นและพัฒนา CGM แบบที่ไม่ต้องฝังลงใต้

ผิวหนัง ซ่ึงเรียกว่า Non-invasive continuous glucose monitor อุปกรณ์นี้ปัจจุบันมีการพัฒนาจากหลายหน่วยงาน

และในบทความนี้จะแนะนำ 2 ชนิด ดังนี้

HG1-c (7)

อุปกรณ์นี้มีขนาดเล็ก หนักประมาณ 5 ออนซ์ หรือ 150 กรัม ถูกออกแบบเป็นรูปส่ีเหลี่ยม เวลาใช้ให้

สวมรอบเอว โดยไม่ต้องเจาะหรือฝังลงในร่างกาย เม่ือทาด้วยเจลจะช่วยให้เครื่องแนบติดกับผิวหนัง โดยไม่มีช่อง

ว่างระหว่างอุปกรณ์กับผิวหนัง

และด้วยเทคโนโลยีของอุปกรณ์นี้จะมีกล้องถ่ายรูปพิเศษ ชื่อ Raman Spectrometer ภายใน sensor ซ่ึงจะ

ใช้แสงเพื่อตรวจจับกลูโคส และวิเคราะห์โมเลกุลของกลูโคสในช่องว่างระหว่างเซลล์ที่อยู่ใต้ผิวหนัง แล้วส่ง

ข้อมูลนี้ผ่านระบบ Bluetooth ไปยังสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์

GlucoWise™ (8)

เป็นเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ต้องสอดหรือฝัง sensor ไว้ใต้ผิวหนัง แต่จะส่งคลื่นวิทยุให้

ผ่านผิวหนังไปยังเส้นเลือดฝอยที่มีปริมาณกลูโคสผ่านไปยัง sensor ในฝั่งตรงกันข้ามของซอกระหว่างนิ้วหัวแม่

มือกับนิ้วชี้ หรือ รอบๆ ใบหู ซ่ึงเป็นบริเวณที่ผิวหนังค่อนข้างบาง และมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงได้เพียงพอกับการ

ตรวจด้วยวิธีนี้

GlucoWise™ อยู่ในระหว่างการศึกษาทางคลินิก ซ่ึงคาดว่า จะได้รับอนุมัติให้จำหน่ายได้ในปี พ.ศ. 2561

หรือ อีก 2 ปีข้างหน้า

ตับอ่อนเทียม (Artificial Pancreas) (2)

เพื่อให้ผลการรักษาโรคเบาหวานดียิ่งข้ึนและครบวงจร นักวิจัยจึงคิดค้นการเชื่อมโยงระหว่างการตรวจ

วัดระดับน้ำตาลกับการให้ยาอินซูลิน ซ่ึงจะทำหน้าที่คล้ายๆ กับตับอ่อน จึงเรียกว่า ตับอ่อนเทียม (Artificial

Pancreas)

ตับอ่อนเทียม คือ ระบบที่จะติดตามตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่าง real time และสามารถตอบ

สนองด้วยการหลั่งอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสมอย่างอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าระบบตับอ่อนเทียมนี้ จะไม่ช่วยรักษา

โรคเบาหวานให้หายขาดได้ แต่ระบบนี้จะมีส่วนสำคัญที่ยกระดับการดูแลและจัดการผู้ป่วยเบาหวานอย่างมี

ประสิทธิภาพ ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษา

ระบบตับอ่อนเทียมนี้จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1. CGM system

2. insulin delivery system

Page 8: เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... · เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน:

3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระหว่าง CGM และระบบการให้อินซูลินที่จะปรับขนาดของอินซูลิน

ตามระดับของน้ำตาลในเนื้อเยื่อ

ซ่ึงในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ MiniMed Paradigm REAL-Time System ซ่ึงเชื่อมระหว่าง CGM system กับ

insulin pump แล้ว และเม่ือวันที่ 28 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา USFDA ได้อนุมัติให้ Medtronic's MiniMed 670G,

hybrid closed-loop insulin delivery system เป็นอุปกรณ์แรกที่ช่วยตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและปรับขนาดที่

เหมาะสมของอินซูลินให้แก่ร่างกายอย่างอัตโนมัติ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 อายุ 14 ปีข้ึนไป (ซ่ึงผู้ป่วยจะ

ต้องป้อนข้อมูลของอาหารที่บริโภคก่อนการปรับขนาดของอินซูลิน) (9)

สรุป

CGM เป็นระบบตรวจวัดระดับน้ำตาลในร่างกาย และรายงานผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอด 24

ชั่วโมง ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรง

หรือที่เกิดอันตราย เพราะระบบนี้จะเตือนให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลได้รับทราบก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แต่

อุปกรณ์นี้ยังไม่ค่อยแม่นยำและถูกต้อง ซ่ึงเริ่มมีรายงานความแม่นยำมาบ้างแล้ว จึงต้องใช้ SMBG เพื่อยืนยันค่า

ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนการปรับการรักษาทุกครั้ง ทั้งยังมีระบบ CGM ชนิด non-invasive และจะพัฒนาต่อย

อดไปเป็น ตับอ่อนเทียม ที่สมบูรณ์แบบได้ในอนาคตอันใกล้นี้

-------------------------------------------------------------

Page 9: เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) : 1013-1-000 ... HCU... · เรื่อง Continuous Glucose Monitoring (CGM) รหัส: 1013-1-000-004-11-2559 จำนวน:

เอกสารอ้างอิง

1) Diabetes.co.uk -the global diabetes community. Continuous Glucose Monitoring. http://

www.diabetes.co.uk/cgm/continuous-glucose-monitoring.html. (Accessed date: 1st October 2016)

2) The National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. Continuous Glucose

Monitoring. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/manage-monitoring-diabetes/continuous-

glucose-monitoring. (Accessed date: 1st October 2016)

3) A.M. Kyaw, N. Poolsup, and N. Suksomboon. Systematic Review of the Effectiveness of Continuous

Glucose Monitoring (CGM) on Glucose Control in Type 2 Diabetes. Mahidol University Journal of

Pharmaceutical Sciences 2013; 40 (1), 38-48.

4) Diabetes.co.uk -the global diabetes community. CGM Funding and Access on the NHS. http://

www.diabetes.co.uk/cgm/cgm-funding-on-the-nhs.html. (Accessed date: 1st October 2016)

5) Miriam E Tucker. Implanted Glucose Sensor Accurate, Safe for 6 Months. http://

www.medscape.com/viewarticle/869312?nlid=109558_3681&src=wnl_dne_%%=v(@date)=%

%_mscpedit&uac=%%UAC%%&impID=%%JOBID%%&faf=1#vp_1. (Accessed date: 30th September

2016)

6) Senseonics. Products. http://www.senseonics.com/products. (Accessed date: 30th September 2016)

7) Allison Blass. New Non-Invasive Continuous Glucose Monitor Will Talk to Your SmartPhone. http://

www.healthline.com/diabetesmine/new-non-invasive-continuous-glucose-monitor-will-talk-to-your-

smartphone. (Accessed date: 1st October 2016)

8) Medical Wireless Sensing. Imagine living a healthier life with GlucoWise™. (Accessed date: 1st

October 2016)

9) Miriam E Tucker. FDA Approves First 'Artificial Pancreas' for Type 1 Diabetes. http://

www.medscape.com/viewarticle/869400. (Accessed date: 4th October 2016)