Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 17

3
แผนภูมิควบคุมแบบง่าย 269 สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ในบทนี้ คือ วิธีการสร้างแผนภูมิควบคุม (Control Charts) แบบง่ายที่และใช้สามารถเข้าใจได้โดยสัญชาตญาณสามารถใช้ในการปรับปรุงความมี เสถียรภาพของกระบวนการ (Process Stability) เครื่องมือนี้ถูกใช้งานในขั้นตอนปรับปรุง (Improve) และควบคุม (Control) ของกระบวนการ DMAIC เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือขั้น พื้นฐานสำหรับงานการผลิตและงานที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ แผนภูมิควบคุมมีประวัติศาสตร์ที่วุ่นวายมาก ในช่วงทศวรรษที่ 1960 เมื่อ ญี่ปุ่นได้แสดงให้สหรัฐอเมริกาเห็นว่าความหมายที่แท้จริงของ “คุณภาพ” เป็นอย่างไรนั้น ก็มีบางคนพยายามนำเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาบางอย่างที่ทำได้อย่างรวดเร็วมาใช้ งาน ซึ่งรวมถึงแผนภูมิควบคุมด้วย การเข้าใจแผนภูมิควบคุมเพียงเล็กน้อยทำให้มันถูก นำไปใช้ได้อย่างไม่เต็มศักยภาพที่แท้จริงของมัน แผนภูมิควบคุมแบบง่าย บ ท ที16 Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING

Transcript of Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 17

Page 1: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 17

แผนภูมิควบคุมแบบง่าย  269

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ในบทนี้ คือ วิธีการสร้างแผนภูมิควบคุม (Control Charts)

แบบง่ายที่และใช้สามารถเข้าใจได้โดยสัญชาตญาณสามารถใช้ในการปรับปรุงความมี

เสถยีรภาพของกระบวนการ (Process Stability) เครื่องมือนี้ถูกใช้งานในขั้นตอนปรับปรุง

(Improve) และควบคุม (Control) ของกระบวนการ DMAIC เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือขั้น

พื้นฐานสำหรับงานการผลิตและงานที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ

แผนภูมิควบคุมมีประวัติศาสตร์ที่วุ่นวายมาก ในช่วงทศวรรษที่ 1960 เมื่อ

ญี่ปุ่นได้แสดงให้สหรัฐอเมริกาเห็นว่าความหมายที่แท้จริงของ “คุณภาพ” เป็นอย่างไรนั้น

ก็มีบางคนพยายามนำเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาบางอย่างที่ทำได้อย่างรวดเร็วมาใช้

งาน ซึ่งรวมถึงแผนภูมิควบคุมด้วย การเข้าใจแผนภูมิควบคุมเพียงเล็กน้อยทำให้มันถูก

นำไปใช้ได้อย่างไม่เต็มศักยภาพที่แท้จริงของมัน

แผนภูมิควบคุมแบบง่าย 

บ ท ที่ 16 Cop

yrigh

ted M

ateria

l of E

.I.SQUARE P

UBLISHIN

G

Page 2: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 17

280 

แผนภูมิควบคุมแบบง่ายก็สามารถที่จะถูกนำมาใช้กับตัวแปรขาเข้าแต่ละตัวได้เช่นเดียว

กับที่ใช้กับข้อมูลขาออกตามที่ได้แสดงให้เห็นมาแล้วข้างต้น นี่เป็นวิธีที่ดีกว่าในการ

ควบคุมกระบวนการ แต่ความรู้เกี่ยวกับ KPIV ในรายละเอียดเช่นนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยาก

ถ้าคิดว่าแผนภูมิควบคุมแบบง่ายไม่เหมาะสม ให้ใช้แผนภูมิควบคุมแบบดั้งเดิม

ใครก็ตามที่รู้สึกไม่สบายใจในการใช้แผนภูมิควบคุมแบบง่ายเนื่องจากว่ามัน

ไม่เป็นไปตามระเบียบแบบแผน ก็ควรที่จะใช้แผนภูมิการควบคุมแบบดั้งเดิมแทน

ในช่วงท้ายของบทนี้ได้มีการอ้างอิงถึงหนังสือเกี่ยวกับแผนภูมิควบคุมแบบดั้งเดิมที่ดี

มากไว้ 2 เล่ม จากประสบการณ์ของผมเวอร์ชั่นแบบง่าย (Simplified Version) มี

ข้อดีมากมาย แต่แผนภูมิควบคุมใดๆ ก็ตามก็ให้ประโยชน์ที่ได้อธิบายไว้มากมายใน

บทนี้เช่นกัน มันเป็นหนึ่งในไม่กี่เครื่องมือที่สามารถทำให้เกิดการปรับปรุงได้เสมอ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในบทที่ 16 

1. บทนี้ถูกนำไปใช้งานได้ในขั้นตอนปรับปรุง (Improve) และขั้นตอนควบคุม

(Control) ของกระบวนการ DMAIC

2. แผนภูมิควบคุมแบบดั้งเดิมแสดงทั้งแผนภูมิค่าเฉลี่ยและแผนภูมิค่า Sigma

ซึง่คอ่นขา้งสรา้งความสบัสนใหก้บัผูป้ฏบิตังิาน เนือ่งจากวา่มกีารใชง้านกนัไมม่าก ดงันัน้

ศักยภาพทั้งหมดของแผนภูมิควบคุมจึงไม่ได้ถูกตระหนัก

3. ผู้ปฏิบัติงานต้องการเห็นพิกัดข้อกำหนด (Specification Limit) ด้านบน

แผนภูมิควบคุม ซึ่งไม่สามารถทำได้กับแผนภูมิที่สื่อให้เห็นค่าเฉลี่ย ไม่ใช่ค่าที่อ่านได้

แต่ละค่า

4. แผนภูมิควบคุมที่แสดงให้เห็นในบทนี้สอดคล้องกับสัญชาตญาณของผู้-

ปฏิบัติงานและช่วยแก้ปัญหาประเด็นที่เป็นความกังวล 2 เรื่องที่ได้กล่าวไปข้างต้น

5. ข้อมูลแปรผัน (Variables Data) และระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่จำเป็น

สำหรับการใช้แผนภูมิควบคุมแบบง่าย

TIP 

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 3: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 17

แผนภูมิควบคุมแบบง่าย  281

6. แผนภูมิควบคุมทำงานได้ดีที่สุดในกระบวนการที่โดยทั่วไปสามารถผลิต

ผลิตภัณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ ดีกว่าที่จะใช้ในกระบวนการที่มีปัญหาของการเกิดข้อ

บกพร่องหรือของเสียที่มากกว่าเกณฑ์ปกติ แต่คุณลักษณะเรื่องการให้ข้อมูลป้อนกลับ

ของแผนภูมิควบคุมช่วยขับเคลื่อนให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการใดๆ ก็ตามได้อีกด้วย

7. ขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระบวนการในเรื่องที่ว่าจะดำเนินการแก้ไข

อย่างไรเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ผลิตภัณฑ์หลุดออกนอกการควบคุมนั้นไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น

สำหรับการนำแผนภูมิควบคุมแบบง่ายมาใช้งาน

8. ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์บางอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการสร้างหน้า

จอของแผนภูมิควบคุมแบบง่าย การป้อนกลับของข้อมูล และอื่นๆ

หนังสือที่เกี่ยวข้อง  

Statistical Methods for Quality Improvement, Hitooshi Kume (New York:

Chapman & Hall, 1995).

SPC Simplified: Practical Steps to Quality, Robert T. Amsden, Howard E. Butler,

Davida M. Amsden, 2nd edition (New York: Quality Resources, 1998).

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING