Global strategy and multinationals’ entry mode choice

4

Click here to load reader

Transcript of Global strategy and multinationals’ entry mode choice

Page 1: Global strategy and multinationals’ entry mode choice

Global Strategy and Multinationals’ Entry Mode Choice กลยุทธ์การแข่งขันระดับโลกกับยุทธการเข้ามาลงทุนของบริษัทข้ามชาติ ในบทความนี้เป็นการวิจัยเพื่อหาปัจจัยที่จะส่งผลต่อการตัดสินในการลงทุนของบริษัทข้ามชาติในต่างประเทศ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ทําการศึกษาโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้บริหารและผู้จัดการของบริษัทข้ามชาติ จํานวน 96 คน แบบสอบถามดังกล่าวประกอบไปด้วยขอบเขตทาง ด้านประสบการณ์การตัดสินในในการเลือกยุทธวิธีการดําเนินธุรกิจข้ามชาติ ในบทความนี้ได้ทําการทบวรรณกรรมจากแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง

Gatignon and Anderson ได้กล่าวถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องเฉพาะของแต่ละธุรกิจ คือปัจจัยทางด้านต้นทุนในการทําธุรกิจ ที่จะส่งผลถึงการกําหนดกลยุทธ์ในการเข้าตลาดต่างประเทศ Gatignon and Anderson ได้ให้คําจํากัดความว่าเป็นต้นทุนในการดําเนินการในการลงทุนข้ามชาติ

Perlmutter ได้เสนอแนวคิด Geocentric approaches เป็นการบริหารงานของธุรกิจข้ามชาติที่มองความเปลี่ยนไปของโลก ไม่มองแค่มุมมองจากประเทศแม่เพียงอย่างเดียวแต่ยังมองมุมมองของเจ้าบ้านด้วย โดย Perlmutter ได้อธิบายการบริหารงานแบบ geocentric approaches ไว้ว่า เป็นการบริหารสาขาในต่างประเทศที่เน้นความเป็นเคลื่อข่ายสนับสนุนให้มีการบริหารงานตนเองอย่างเป็นเอกภาพไม่ขึ้นตรงกับบริษัทแม่เพื่อที่จะมีอํานาจในการตัดสินใจและบริหารให้เข้ากับประเทศเจ้าบ้าน

Ghoshal อธิบายแนวทางปฏิบัติพื้นฐานของกลยุทธ์ระหว่างประเทศไว้ 2 แนวทาง คือ 1. ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจถือเป็นความสําเร็จของทุกบริษัทในประเทศต่างๆ ไม่ขึ้นอยู่กับการทํางานที่มีประสิทธิภาพของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง 2. ผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ต้องเป็นความสําเร็จของบริษัทต่างๆที่มีความเป็นเอกเทศ ความสําเร็จของบริษัทในตลาดหนึ่งจะส่งผลเป็นแรงผลักดันให้บริษัทอื่นๆเกิดแรงผลักดัน ในบทความนี้จะทําการทดสอบ framework ใน 2 ระดับที่แตกต่างกัน 1.

ทดสอบภาพรวมของปัจจัยที่ส่งผลถึงการตัดสินใจในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ 2. ทดสอบรูปแบบการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของบริษัทข้ามชาติว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นตัวประกอบในการตัดสินใจ

Page 2: Global strategy and multinationals’ entry mode choice

จนได้กําหนดตัวแปรที่คาดว่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการดําเนินธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทข้ามชาติ จึงกําหนดตัวแปรได้ดัง รูปที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนของธุรกิจข้ามชาติ (An eclectic framework of the entry mode choice) ตามการทบทวนวรรณกรรม Kim ได้กําหนดการศึกษาตัวแปรในการวิจัยดังนี้ 1. ปัจจัยจากกลยุทธ์การแข่งขันระดับโลก (Global strategic variables) โดย Kim ได้กําหนดตัวแปรไว้ 3 ตัวแปรดังนี้

1.1. เน้นการแข่งขันระดับโลก (Global Concentration) ระดับของการเน้นการแข่งขันระดับโลกที่สูงนั้นจะเป็นปัจจัยนึงที่เป็นตัววันระดับของกลยุทธ์การแข่งขันระดับโลก บริษัทข้ามชาติที่มีการขยายตัวไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก ภายใต้การสร้างรูปแบบของธุรกิจที่มีความแตกต่าง ในอุตสาหกรรมที่มีคู่แข่งจํานวนจํากัด ภายใต้สภาวะแวดล้อมการแข่งขันแบบเสรี

1.2. เน้นการส่งเสริมซึ่งกันและกัน (Global Synergies) ระดับการส่งเสริมซึ่งกันและกันจะเพิ่มสูงขึ้นก็ต่อเมื่อ ปัจจัยต่างๆสามารถแบ่งปันกันได้ ปัจจัยดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยหลักในการดําเนินธุรกิจ เช่น การแบ่งปันข้อมูล R&D, การตลาด หรือการผลิต ปัจจัยดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนในการขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ เพื่อเสริมสร้างแต่ต่อยอดสมรรถภาพหลักให้กับหน่วยธุรกิจต่อไป 1.3. เน้นกลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจ (Global strategic motivation) การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของบริษัทข้ามชาติต่างๆนั้น ต้องเจอกับคู่แข่งทั้งจากภายในประเทศที่เป็นประเทศแม่ รวมถึงตลาดต่างประเทศ ภายใต้สภาวะการแข่งขันดังกล่าวกลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจนั้นจะมีส่วนชี้นําการตัดสินใจในการเลือกช่องทางในการลงทุน (Edwards 1971; Watson 1982; Hout, Porter and Rudden 1982; Hamel and Prahalad 1985; Kim and Mauborgne 1988) การเน้นกลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจนั้นเป็นการสร้างแรงจูงใจให้หน่วยธุรกิจต่างๆ

Global strategic variables

Entry  mode  decision  

Environmental  variables  

Transaction-­‐Specific  Variables  

Page 3: Global strategy and multinationals’ entry mode choice

พร้อมรับและปรับตัวกับสภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันในแต่ละตลาดได้ เพื่อให้ระดับการขยายตัว การพัฒนาการเข้าถึงทรัพยากร และการรับมือกับคู่แข่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2. ตัวแปรด้านสภาวะแวดล้อม (Environmental Variables) โดย Kim ได้กําหนดตัวแปรไว้ 3 ตัวแปร

2.1. ความเสี่ยงของประเทศปลายทาง (Country Risk) ระดับของความเสี่ยงที่สูงคือ ธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงหรือมีข้อจํากัดในการจัดหาทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นการนําเข้าหรือการสรรหาจากภายในท้องถิ่นนั้นก็ตาม ระดับความเสี่ยงที่สูงบริษัทข้ามชาติจะนํามาเป็นส่วนสําคัญในการตัดสินใจลงทุน (Kobrin 1983; Vernon 1983; Bradley 1977)

2.2. ความไม่คุ้นเคยกับตลาดใหม่ (Location Unfamiliarity) ระดับของระยะห่างในด้านต่างๆ ทั้งในด้านของวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ และธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจ ระดับของระยะห่างหรือความแตกต่างถ้ามีในระดับสูง จะมีผลทําให้ธุรกิจข้ามชาติมีแนวโน้มที่จะหาผู้ร่วมทุนมากกว่าที่จะไปลงทุนเองทั้งหมด (Anderson and Coughlan 1987; Davidson 1980; Green and Cunningham 1975; Johnason and Vahlne 1977; Kobrin 1983; Stopford and Wells 1972)

2.3. สภาวะความต้องการที่ไม่แน่นอน (Demand Uncertainty) สภาวะความไม่แน่นอนของความต้องการนั้นเป็นสภาวะที่ธุรกิจจะต้องคาดการไว้ล่วงหน้า เพราะสภาวะดังกล่าวมีผลต่อการลงทุนทั้งทางด้านการดําเนินการ รวมถึงต้นทุนของทรัพยากร มีผลทําให้ต้นทุนสามารถกลายเป็นต้นทุนจมได้ ภายให้สภาวะความไม่แน่นอนเช่นนี้ธุรกิจข้ามชาติจะเลือกการลงทุนที่ไม่ต้องมีข้อผูกมัดกับการจัดหาทรัพยากร หรือมีข้อผูกมัดที่น้อย

2.4. สภาวะการแข่งขันที่รุนแรง (Intensity of Competition) ในสภาวะการแข่งขันที่สูงของตลาดปลายทางนั้น ส่งผลถึงแนวโน้มของยุทธวิธีในการดําเนินธุรกิจ เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการลงทุนที่ต้องมีผลผูกพันต่อทรัพยากร หรือสิทธิในการบริหาร

3. ความรู้เฉพาะในองค์กร (Transaction – Specific Variables) ตัวแปรทางได้นี้ได้รับอิทธิพลจากการตัดสินใจในการลงทุน โดยแบ่งตัววัดออกเป็น 2 ตัว คือ

3.1. คุณค่าของความรู้เฉพาะในธุรกิจ (Value of Firm-Specific Know-How) ความรู้ด้านนี้เป็นความรู้ที่ครอบคุมทั้งทางด้านกระบวนการ วัตถุดิบ การบริหาร ที่สร้างหรือเกิดขึ้นเฉพาะภายใต้ธุรกิจนั้น รูปแบบของการลงทุนของธุรกิจข้ามชาตินั้น มีผลต่อการส่งต่อหรือแลกเปลี่ยนความรู้นี้ด้วย 3.2. ความรู้โดยนัย (Tacit Nature of Know-How) ความรู้โดยนัยทางการทําธุรกิจ เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านการกระทําที่เป็นประจําและเกิดการเรียนรู้ จนการเป็นทรัพยากรขององค์กร รูปแบบการตัดสินใจในการลงทุนที่ส่งเสริมให้อํานาจการควบคุมสูงจะทําให้ความรู้ระดับนี้สูงด้วย

Page 4: Global strategy and multinationals’ entry mode choice

4. รูปแบบการตัดสินใจในการลงทุน ในบทความนี้เน้นไปที่ การทําข้อตกลงให้สิทธิ Licensing Agreements, การร่วมค้า Joint ventures, การลงทุนโดยตรง Wholly owned subsidiaries

ผลการวิจัยจากอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ ชี้ให้เห็นว่า

1. ระดับของการเน้นการแข่งขันระดับโลก (Global Concentration) ที่เพิ่มขึ้น จะมีผลทางบวกกับการเลือกยุทธวิธีแบบ การลงทุนโดยตรง

2. ระดับของการเน้นการส่งเสริมซึ่งกันและกัน (Global Synergies) ที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลทางบวกกับ การลงทุนโดยตรง

3. ระดับของการเน้นกลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจ (Global strategic motivation) ที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลทางบวกต่อ การลงทุนโดยตรง

4. ระดับความเสี่ยงของประเทศปลายทาง (Country Risk) ที่เพิ่มขึ้น จะมีผลต่อการตัดสินใจไม่เลือก หรือเป็นผลทางลบกับ การทําการร่วมค้า

5. ระดับความไม่คุ้นเคยกับตลาดใหม่ (Location Unfamiliarity) ที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลทางลบกับการตัดสินใจลงทุนโดยตรง

6. ระดับสภาวะความต้องการที่ไม่แน่นอน (Demand Uncertainty) ที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลทางลบกับ การลงทุนทางตรง

7. ระดับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง (Intensity of Competition) ที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ธุรกิจเลือกที่จะเข้าไปลงทุนแบบ การร่วมค้า มากกว่าการลงทุนทางตรง